Category Archives: อำเภอกำแพงแสน
อำเภอกำแพงแสน
อำเภอกำแพงแสน is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by focus keyword name in category.
กำแพงแสน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอกำแพงแสนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสองพี่น้อง (จังหวัดสุพรรณบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางเลนและอำเภอดอนตูม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครปฐม และอำเภอบ้านโป่ง (จังหวัดราชบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอท่ามะกา (จังหวัดกาญจนบุรี)
ประวัติศาสตร์[แก้]
ในอดีตอำเภอกำแพงแสนเป็น เมืองกำแพงแสน (มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11–16) ซึ่งเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ สันนิษฐานว่าน่าจะมีฐานะเป็นเมืองบริวารของเมืองนครไชยศรีมากกว่าจะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่อย่างอิสระ ตำแหน่งกลางเมืองเก่าอยู่ที่ประมาณเส้นรุ้งที่ 13 องศา 39 ลิปดา 20 พิลิปดาเหนือ และเส้นแวง 99 องศา 57 ลิปดา 57 พิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีขนาดเล็กและตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองนครไชยศรี คือมีระยะห่างกันประมาณ 24 กิโลเมตร ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองใหญ่ 2 เมือง คือเมืองอู่ทองและเมืองนครไชยศรี
ปัจจุบันบริเวณเมืองเก่ากำแพงแสนเป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งใช้เป็นค่ายลูกเสือ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
อำเภอกำแพงแสนได้ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2449 ที่วัดห้วยพระ ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม โดยใช้ชื่อว่า อำเภอกำแพงแสน ตั้งตามชื่อเมืองโบราณ ต่อมาได้ปี พ.ศ. 2453เมื่อประสพภัยแล้งไม่สะดวกในการสัญจรเพราะในอดีตใช้เรือเป็นหลักจึงได้ย้ายที่ตั้งอำเภอใหม่จากวัดห้วยพระไปที่ชายทุ่งสามแก้ว ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอจาก กำแพงแสน มาเป็น “อำเภอนาจอำนวย” หรือชาวบ้านเรียกตามชื่อหมู่บ้านว่า อำเภอสามแก้ว ตั้งอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2460 [1]ได้ย้ายที่ว่าการ อำเภอนาถอำนวย จากที่ตั้งชายทุ่งสามแก้ว มาตั้งที่ว่าการอำเภอใหม่ริมคลองท่าสาร-บางปลา บริเวณบ้านยาง ติดถนนมาลัยแมน (ถนนนครปฐม-สุพรรณบุรี) หมู่ที่ 13 ตำบลทุ่งกระพังโหม ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 14 กิโลเมตร และส่วนที่ตั้งของ (อำเภอนาถอำนวย) หรือ อำเภอ สามแก้ว
ปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนบ้านสามแก้ว(นาถอำนวยวิทย์)[2] และเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกำแพงแสนไปสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ ที่ดินที่ราษฎรได้บริจาคให้ริมถนนมาลัยแมน ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ตรงข้ามโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา ส่วนที่ตั้งเดิมได้ใช้เป็นสำนักงานเทศบาลตำบลกำแพงแสนส่วนนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ถึงปัจจุบัน
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลห้วยด้วน แยกออกจากตำบลห้วยพระ ตั้งตำบลห้วยขวาง แยกออกจากตำบลลำเหย ตั้งตำบลดอนรวก แยกออกจากตำบลดอนพุทรา ตั้งตำบลบ้านหลวง แยกออกจากตำบลดอนพุทรา[3]
- วันที่ 28 ธันวาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลกำแพงแสน ในพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งกระพังโหม (ในขณะนั้น)[4]
- วันที่ 9 กันยายน 2502 โอนพื้นที่ตำบลสระสี่มุม ตำบลกระตีบ และบางส่วนของตำบลดอนข่อย (หมู่ที่ 1-4, 6-10 ในขณะนั้น) จากอำเภอบางเลน มาขึ้นกับอำเภอกำแพงแสน[5]
- วันที่ 16 ธันวาคม 2502 เปลี่ยนแปลงพื้นที่ตำบลดอนข่อย โดยท้องที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกับตำบลหินมูล อำเภอบางเลน[6]
- วันที่ 1 มกราคม 2509 แยกพื้นที่ตำบลสามง่าม ตำบลห้วยพระ ตำบลลำเหย ตำบลดอนพุทรา ตำบลบ้านหลวง ตำบลดอนรวก และตำบลห้วยด้วน อำเภอกำแพงแสน มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอดอนตูม ขึ้นกับอำเภอกำแพงแสน[7]
- วันที่ 1 มกราคม 2510 ตั้งตำบลสระพัฒนา แยกออกจากตำบลสระสี่มุม[8]
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2511 ตั้งตำบลทุ่งบัว แยกออกจากตำบลทุ่งขวาง[9]
- วันที่ 1 มีนาคม 2512 ยกฐานะกิ่งอำเภอดอนตูม อำเภอกำแพงแสน เป็น อำเภอดอนตูม[10]
- วันที่ 12 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลห้วยหมอนทอง แยกออกจากตำบลทุ่งขวาง[11]
- วันที่ 14 กันยายน 2532 ตั้งตำบลห้วยม่วง แยกออกจากตำบลกระตีบ[12]
- วันที่ 19 มิถุนายน 2533 ตั้งตำบลกำแพงแสน แยกออกจากตำบลทุ่งกระพังโหม[13]
- วันที่ 1 พฤษภาคม 2534 ตั้งตำบลรางพิกุล แยกออกจากตำบลทุ่งบัว[14]
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลหนองกระทุ่ม แยกออกจากตำบลทุ่งลูกนก[15]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2536 ตั้งตำบลวังน้ำเขียว แยกออกจากตำบลทุ่งกระพังโหม[16]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกำแพงแสนเป็นเทศบาลตำบลกำแพงแสน
คำขวัญอำเภอ
เมืองเก่าโบราณ สถานผลิตนักบินประเทศ แหล่งบัณฑิตการเกษตร เขตพื้นดินเนื้อดี อนุสาวรีย์อินทรศักดิ์ศจี ปฐมพีแห่งความร่มเย็น
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอกำแพงแสนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 204 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ทุ่งกระพังโหม | (Thung Kraphanghom) | 7 หมู่บ้าน | 9. | สระพัฒนา | (Sa Phatthana) | 14 หมู่บ้าน | |||||||
2. | กระตีบ | (Kratip) | 8 หมู่บ้าน | 10. | ห้วยหมอนทอง | (Huai Mon Thong) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
3. | ทุ่งลูกนก | (Thung Luk Nok) | 23 หมู่บ้าน | 11. | ห้วยม่วง | (Huai Muang) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
4. | ห้วยขวาง | (Huai Khwang) | 21 หมู่บ้าน | 12. | กำแพงแสน | (Kamphaeng Saen) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
5. | ทุ่งขวาง | (Thung Khwang) | 10 หมู่บ้าน | 13. | รางพิกุล | (Rang Phikun) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
6. | สระสี่มุม | (Sa Si Mum) | 24 หมู่บ้าน | 14. | หนองกระทุ่ม | (Nong Krathum) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
7. | ทุ่งบัว | (Thung Bua) | 11 หมู่บ้าน | 15. | วังน้ำเขียว | (Wang Nam Khiao) | 14 หมู่บ้าน | |||||||
8. | ดอนข่อย | (Don Khoi) | 16 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอกำแพงแสนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกำแพงแสน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งกระพังโหมและตำบลกำแพงแสน
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระพังโหม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกระพังโหม (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกระตีบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระตีบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งลูกนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งลูกนกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยขวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งขวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่มุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระสี่มุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนข่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนข่อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระพัฒนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยหมอนทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยม่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงแสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำแพงแสน (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลรางพิกุล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรางพิกุลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกระทุ่มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำเขียวทั้งตำบล
ประชากร[แก้]
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 115,119 คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 55,936 คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 59,183 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 295 คน/ตร.กม.
เมืองเก่ากำแพงแสน[แก้]
เมืองกำแพงแสนเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี มีอายุรุ่นเดียวกับเมืองนครชัยศรี แต่มีขนาดเล็กกว่ากันมาก ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศเหนือตามถนนมาลัยแมนประมาณ 24 กิโลเมตร ปัจจุบันใช้เป็นค่ายลูกเสือ ของจังหวัด เมืองกำแพงแสนมีลักษณะรูปร่างเกือบกลม คือ มีความกว้างประมาณ 757 เมตร และความยาวในแนวเหนือ-ใต้ ประมาณ 803 เมตร รวมเนื้อที่ประมาณ 315 ไร่ ตัวเมืองมีคูน้ำและคันดิน (กำแพงแสน) ล้อมรอบ โดยคูเมืองมีความกว้างประมาณ 30 เมตร รวมความยาว รอบตัวเมืองประมาณ 2.75 กิโลเมตร ด้านทิศ เหนือ มีลำน้ำขนาดใหญ่ คือ ลำน้ำห้วยยางไหลผ่าน (ปัจจุบันเรียกคลองท่าสาร-บางปลา) ในสมัยทวารวดีเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และยังตั้งอยู่ กึ่งกลางระหว่างเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองอู่ทองและเมืองนครไชยศรี ภายในตัวเมือง ไม่มีซากโบราณสถานใดๆ หลงเหลืออยู่ นอกจากเนินดินหลายแห่ง และสระน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีคูน้ำชั้นในกว้างประมาณ 10 เมตร ส่วนโบราณวัตถุมีการขุดพบและบางส่วนเก็บไว้ที่ วัดกำแพงแสน
อาณาเขตติดต่อ[แก้]
อาณาเขตติดต่อ
อำเภอกำแพงแสนเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดนครปฐม ห่างจากตัวเมือง 26 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดจังหวัดสุพรรณบุรี
- ทิศใต้ ติดอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
- ทิศตะวันออก ติดอำเภอบางเลนและอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
- ทิศตะวันตก ติดจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี
อ้างอิง
อำเภอกำแพงแสน หลังคา พียู โฟม อำเภอกำแพงแสน หลังคา พียู […]