อบต ในคลองบางปลากด เมทัลชีทลอนฝ้า : แผ่นเดียว ก็ขาย อบต […]
Category Archives: อำเภอพระสมุทรเจดีย์
อำเภอพระสมุทรเจดีย์
อำเภอพระสมุทรเจดีย์ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by focus keyword name in category.
จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ในสมัยอยุธยามีชื่อเมืองสมุทรปราการในกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2178 แต่ตัวเมืองจะตั้งอยู่ที่ใดในเวลานั้นไม่ปรากฏชัด มีหลักฐานแต่เพียงว่า ที่ปากคลองบางปลากด ฝั่งขวาของ แม่น้ำเจ้าพระยา มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าอยู่ ณ ที่นั้นและเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงแต่งสมณทูตไปลังกากล่าวว่าออกเรือจากเมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดาที่ตำบลบางปลากดแสดงว่าที่นั่นคงมีผู้คนอาศัยอยู่มากอาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการในครั้งนั้นก็ได้ ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ปรากฏหลักฐานว่า พม่าได้มาปล้นบ้านเรือนราษฎรที่ตำบลบางเมืองในเขตเมืองสมุทรปราการในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการบัดนี้ที่ตำบลบางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2362 พร้อมกับสร้างป้อมป้องกันเรือของข้าศึกรวม 6 ป้อมและใน พ.ศ. 2366 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์บนเกาะกลางน้ำด้วย อนึ่ง สมุทรปราการ เรียกกันเป็นสามัญว่า “ปากน้ำ” เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งซ้าย ห่างจากปากแม่น้ำเข้ามาราว 6 กิโลเมตร [3]
ภูมิศาสตร์[แก้]
จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตปริมณฑล จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศใต้จรดอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่อ่าวไทย มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กิโลเมตร เดิมชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา นำพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ำแต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง[3]
ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดสมุทรปราการมีการทำนา, ประมง และอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ, วัดอโศการาม, วัดบางพลีใหญ่, วัดไพชยนต์พลเสพราชวรวิหาร, วัดโปรดเกศเชษฐาราม, ศาลพระเสื้อเมือง, พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ, เมืองโบราณ, สถานตากอากาศบางปู, ป้อมพระจุลจอมเกล้า, สวางคนิวาส, ป้อมแผลงไฟฟ้า, ฟาร์มจระเข้ ฯลฯ [3]
การคมนาคมจากกรุงเทพมหานคร โดยทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท ตอนกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ) ระยะทาง 25 กิโลเมตร [3]
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- อักษรย่อ: จังหวัดสมุทรปราการใช้อักษรย่อ สป
- ตราประจำจังหวัด: พระสมุทรเจดีย์
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นโพทะเล (Thespesia populnea)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกดาวเรือง (Tagetes erecta)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาสลิด (Trichopodus pectoralis)
- คำขวัญประจำจังหวัด: ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม
การเมืองการปกครอง[แก้]
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค[แก้]
จังหวัดสมุทรปราการแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 50 ตำบล 405 หมู่บ้าน อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการประกอบไปด้วย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น[แก้]
พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 49 แห่ง ประกอบด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยมี 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด, เทศบาลนคร 1 แห่ง, เทศบาลเมือง 5 แห่ง, เทศบาลตำบล 13 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 29 แห่ง จำแนกได้ดังนี้[4]
ลำดับ | ชื่อเทศบาล | พื้นที่ (ตร.กม.) |
ตั้งเมื่อ (พ.ศ.)[# 1] |
อำเภอ | ครอบคลุมตำบล | ประชากร (คน) (ณ สิ้นปี 2561) [5] |
||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทั้งตำบล | บางส่วน | รวม | ||||||||||
เทศบาลนคร | ||||||||||||
1 |
7.33
|
2542[6] | เมืองสมุทรปราการ | 1 | – | 1 |
51,495
|
|||||
เทศบาลเมือง | ||||||||||||
2 (1) |
0.61
|
2480 [7] | พระประแดง | 1 | – | 1 |
9,462
|
|||||
3 (2) |
15.50
|
2545[8] | พระประแดง | 3 | – | 3 |
72,263
|
|||||
4 (3) |
9.30
|
2550 [9] | เมืองสมุทรปราการ | – | 1 | 1 |
33,101
|
|||||
5 (4) |
25.50
|
2552[10] | พระประแดง | 5 | – | 5 |
73,805
|
|||||
6 (5) |
24.69
|
2562[11] | บางพลี | 1 | – | 1 |
56,949
|
|||||
เทศบาลตำบล | ||||||||||||
7 (1) | 2538 | เมืองสมุทรปราการ | – | 3 | 3 |
29,977
|
||||||
8 (2) | 2542 | เมืองสมุทรปราการ | 4 | – | 4 |
119,760
|
||||||
9 (3) | 2542 | เมืองสมุทรปราการ | – | 2 | 2 |
27,305
|
||||||
10 (4) | 2542 | เมืองสมุทรปราการ | – | 1 | 1 |
55,826
|
||||||
11 (5) | 2542 | เมืองสมุทรปราการ | – | 3 | 3 |
101,232
|
||||||
12 (6) | 2542 | บางบ่อ | – | 1 | 1 |
6,496
|
||||||
13 (7) | 2542 | บางบ่อ | 1 | – | 1 |
3,201
|
||||||
14 (8) | 2542 | บางบ่อ | – | 1 | 1 |
11,530
|
||||||
15 (9) | 2542 | บางพลี | – | 3 | 3 |
11,965
|
||||||
16 (10) | 2542 | พระสมุทรเจดีย์ | 1 | – | 1 |
12,612
|
||||||
17 (11) | 2542 | พระสมุทรเจดีย์ | – | 2 | 2 |
20,968
|
||||||
18 (12) | 2542 | บางเสาธง | – | 2 | 2 |
22,660
|
||||||
19 (13) | 2554 | บางบ่อ | 1 | – | 1 |
9,086
|
- ↑ หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]
ลำดับ | ชื่อ | เริ่มดำรงตำแหน่ง | ออกจากตำแหน่ง |
---|---|---|---|
พระยานครเขื่อนขันธ์ รามัญราชชาติเสนาบดี ศรีสิทธิสงคราม (ทอมา คชเสนี) | |||
พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) | |||
พระยาดำรงราชพลขันธ์ (นกแก้ว คชเสนี) | |||
พระยาขยันสงคราม (เจ๊ก คชเสนี) | |||
พระยาเกียรติ (นกขุนทอง คชเสนี) | |||
พระยาดำรงราชพลขันธ์ (หยอด คชเสนี) | |||
พระยาเทพผลู (ทองคำ) | |||
พระยาพินิจมนตรี (ปุย คชเสนี) | |||
พระยานาคราชกำแหง (แจ้ง คชเสนี) | |||
พระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า จารุเสถียร) | |||
พระประแดงบุรี (โต) | |||
พระพิชัยบุรินทรา (สะอาด) |
|
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากร ตามทะเบียนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ |
||
---|---|---|
ปี | ประชากร | ±% |
2549 | 1,104,766 | — |
2550 | 1,126,940 | +2.0% |
2551 | 1,147,224 | +1.8% |
2552 | 1,164,105 | +1.5% |
2553 | 1,185,180 | +1.8% |
2554 | 1,203,223 | +1.5% |
2555 | 1,223,302 | +1.7% |
2556 | 1,241,610 | +1.5% |
2557 | 1,261,530 | +1.6% |
2558 | 1,279,310 | +1.4% |
2559 | 1,293,553 | +1.1% |
2560 | 1,310,766 | +1.3% |
2561 | 1,326,608 | +1.2% |
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[13] |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
เทศกาลและงานประเพณี[แก้]
- งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ จะจัดขึ้นในวันแรม 5 ค่ำเดือน 11 ของทุกปีเป็นเวลา 12 วัน 12 คืน
- งานเทศกาลสงกรานต์ปากลัด จัดที่พระประแดงในวันอาทิตย์แรกหลังจากงานงานสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายนผ่านไปแล้ว
- ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว
- ประเพณีแห่หลวงปู่ปาน
การขนส่ง[แก้]
ในจังหวัดสมุทรปราการ การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถส่วนบุคคลและรถประจำทาง โดยจุดรถประจำทางที่สำคัญได้แก่ บริเวณ บางนา, สำโรง, ปากน้ำ, บางพลี และพระประแดง สำหรับการโดยสารทางเรือ ผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือโดยสารเลียบแม่น้ำ ขึ้นได้ที่ท่าน้ำปากน้ำ และมีการโดยสารข้ามแม่น้ำหลายจุด รวมทั้งบริเวณท่าน้ำพระประแดงมีท่าแพสำหรับบรรทุกรถข้ามแม่น้ำ การเดินทางทางอากาศผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นอกจากนั้น จังหวัดสมุทรปราการยังมีโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่ต่อเนื่องออกมาจากกรุงเทพมหานครถึง 3 เส้นทาง คือ
- รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ชั้นใต้ดินของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 (รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ) บนถนนสุขุมวิท
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง บริเวณถนนศรีนครินทร์ และถนนเทพารักษ์ (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
และในอนาคตจะมีรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม บนถนนสุขสวัสดิ์
การศึกษา[แก้]
- การศึกษาขั้นพื้นฐาน (โรงเรียนมัธยม)
- สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล
- สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอบางพลี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ อำเภอบางพลี
- ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี สถาบันการศึกษาในสังกัดกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม อำเภอเมืองสมุทรปราการ
- สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ (บางนา) อำเภอบางเสาธง
- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบางพลี
- วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก อำเภอบางพลี
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี
- วิทยาลัยนานาชาติราฟเฟิลส์ อำเภอบางพลี
- สถาบันอาชีวศึกษารัฐบาล
- วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ อำเภอเมืองสมุทรปราการ
- วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกสมุทรปราการ อำเภอบางบ่อ
- วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ อำเภอเมืองสมุทรปราการ
- วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์
- สถาบันอาชีวศึกษาเอกชน
- วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ อำเภอบางพลี
- โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจเปรมฤทัย อำเภอบางพลี (ปัจจุบันเลิกกิจการ)
- โรงเรียนเกริกวิทยาลัย อำเภอบางพลี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ (ช.เทค) อำเภอเมืองสมุทรปราการ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิบริหารธุรกิจ อำเภอบางพลี
- โรงเรียนเทคโนโลยีสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง (ปัจจุบันเลิกกิจการ)
- โรงเรียนช่างสำรวจอนุสรณ์สัน อำเภอเมืองสมุทรปราการ (ปัจจุบันเลิกกิจการ)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีเกวลินบริหารธุรกิจ อำเภอบางเสาธง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน (บีดีไอ) อำเภอบางพลี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยโกลบอลบริหารธุรกิจ อำเภอเมือง
- โรงเรียนศรีดรุน อำเภอบางพลี
- โรงเรียนสุขเจริญผล อำเภอบางพลี
- การศึกษาทางทหาร
การท่องเที่ยว[แก้]
สมุทรปราการมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง ได้แก่ ฟาร์มจระเข้ และเมืองโบราณ ซึ่งรู้จักกันจากนักท่องเที่ยวจากที่ต่างๆ นอกจากนี้ในช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายน จะมีการจัดงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์หรือที่เรียกกันว่า “งานเจดีย์” เป็นเวลา 12 วัน 12 คืน ซึ่งเป็นงานประจำจังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นบริเวณใจกลางเมืองของตัวอำเภอเมืองสมุทรปราการ โดยจะมีการปิดถนนเริ่มต้นบริเวณศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ มีการจัดตั้งร้านขายของ, ร้านอาหาร, การละเล่น, ชิงช้าสวรรค์, ม้าหมุน และงานโชว์ต่างๆ รวมถึงของหลายหลายมาวางขาย
นอกจากที่กล่าวมา ยังมีสถานท่องเที่ยวที่น่าสนใจต่อไปนี้
- ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง – แหล่งรวมอาหารพื้นบ้านรวมถึงที่พักผ่อนหย่อนใจ เปิดเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
- ตลาดน้ำโบราณบางพลี
- บ้านสาขลา – หมู่บ้านทางวัฒนธรรมเก่าแก่ สมัยสุโขทัย
- ป้อมพระจุลจอมเกล้า – ป้อมปืนที่สำคัญสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5
- เมืองโบราณ – พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่จำลองสถานที่สำคัญและโบราณสถานในเมืองไทย
- พระสมุทรเจดีย์ – โบราณสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง
- พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ– ประติมากรรมทองแดงรูปช้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
- ฟาร์มจระเข้ – ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ
- สถานตากอากาศบางปู – สถานพักผ่อนหย่อนใจและเป็นศูนย์รวมของฝูงนกนางนวล
- หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน – พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสมุทรปราการและประชาชนทั่วไปนับถือ
- โครงการลูกพระดาบส สมุทรปราการ ตามพระราชดำริ – สถานที่ศึกษาดูงาน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง[14]
- อุทยานการเรียนรู้อ่าวไทย – อุทยานการเรียนรู้อ่าวไทยและหอชมเมืองสมุทรปราการ
- หลวงพ่อเขียวสุโข วัดหัวคู้ – พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวจระเข้น้อย และพระเจ้าตากสินมหาราช
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
- สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) – สมเด็จพระราชาคณะ อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสมัชชามหาคณิสสร เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- กรุง ศรีวิไล – นักแสดงและนักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 5
- คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ – นักแสดง
- นาม ยิ้มแย้ม – ประธานคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง
- ปัญญา ถนอมรอด – ประธานศาลฎีกา
- เมืองทอง สมยาประเสริฐ – นักร้องเพลงลูกทุ่ง
- สดใส รุ่งโพธิ์ทอง – นักร้องเพลงลูกทุ่ง
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร – ราชบัณฑิต แพทย์ดีเด่น และหนึ่งในแพทย์ผู้ชันสูตรพระบรมศพรัชกาลที่ 8
- สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ – อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยและอดีตโค้ชทีมเมืองทองยูไนเต็ด
- อภิเชษฐ์ พุฒตาล – อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- วัฒนา อัศวเหม – อดีตประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน
- ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม – อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- อำนวย รัศมิทัต – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- ธนภณ คารมปราชญ์ – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- ภัทรวดี อภิเด่นเลิศนภาลัย – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- ธนภัท ธญธนพัต – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- บุญเกิด ธรรมวาสี – นักวิชาการ ผู้คิดค้นเกมอักษรไขว้ภาษาไทย
- ปาณรวัฐ กิตติกรเจริญ – นักร้องวง D2B
- รำลึก ธีรพงษ์ – นักกีฬาหมากรุกไทย และครูหมากรุกไทยชื่อดัง
- สารัช อยู่เย็น – นักฟุตบอลทีมชาติไทย สังกัด สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
- สิทธิชัย สุวรประทีป – นักกรีฑาทีมชาติไทย
- เหรียญชัย สีหะวงษ์ – นักกรีฑาทีมชาติไทย
- อัญชะลี ไพรีรัก − สื่อมวลชนชาวไทย
- ฝนทิพย์ วัชรตระกูล – มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2553 นักแสดงสังกัด ช่อง7
- พรรัมภา สุขได้พึ่ง – นักแสดงสังกัดช่อง 7
- อรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 1
- ประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 2
- อนุสรา ยังตรง – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 3
- วรชัย เหมะ – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 4
- พิมพ์ ญาดา – นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- สลิลทิพย์ สุขวัฒน์ – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 5
- เรวดี รัศมิทัศ – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 6
- ประชา ประสพดี – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 7
- ธนากร ศรีบรรจง – นักแสดงตลกเดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์
- ศิรชัช เจียรถาวร – นักแสดง
- วโรดม เข็มมณฑา – นักแสดง นักร้อง ดีเจ
- อิทธิพัทธ์ ฐานิตย์ – นักแสดง นายแบบ
- ธนบูรณ์ เกษารัตน์ – นักฟุตบอลทีมชาติไทย สังกัดสโมสร เชียงราย ยูไนเต็ด
- ณพสิน แสงสุวรรณ – อดีตนักร้องนำวง กะลา (วงดนตรี) ปัจจุบันเป็นนักร้องเดี่ยวสังกัดค่าย จีนี่เรคอร์ดส ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในนาม “หนุ่ม กะลา”
- อนุชิต สพันธุ์พงษ์ – นักร้อง นักแสดง
- กานต์ธีรา วัชรทัศนกุล (เนย BNK48) – นักร้อง
- จุฑามาศ คลทา (เข่ง BNK48) – นักร้อง
- สิริการย์ ชินวัชร์สุวรรณ (ผักขม BNK48) – นักร้อง
- จณิสตา ตันศิริ (แบมบู BNK48) – นักร้อง
- นันท์นภัส เลิศนามเชิดสกุล (มิวนิก BNK48) – นักร้อง
อบต แหลมฟ้าผ่า หลังคาเมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย อบต แหล […]
อบต บ้านคลองสวน ลูกหมุน ระบายอากาศ พร้อมแผ่นฐาน อบต บ้า […]
อบต นาเกลือ แผ่นใสขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย อบต นาเกลือ […]
ถ เลียบคลองสรรพสามิต: แผ่นเดียว ก็ขาย ถ เลียบคลองสรรพสา […]
สุขสวัสดิ์-นาเกลือ แผ่นครอบต่างๆ ย้ำโค้งปลาย ติดฉนวนพีอ […]
สุขสวัสดิ์ เมทัลชีทลอนฝ้า : แผ่นเดียว ก็ขาย สุขสวัสดิ์ […]
ประชาอุทิศ หลังคาเมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย ประชาอุทิศ […]
ต ในคลองบางปลากด แผ่นใสขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย ต ในคล […]
ปากคลองบางปลากด แผ่นใสขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย ปากคลอง […]